กลยุทธ์การจัดการในชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วยความคิดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการเรียนรู้อย่าง เป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความ สำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการส อน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน
องค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1.ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างประสิทธิภาพจะสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนและ มีขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจนและจัดกิจกรรมให้ประสาน สอดคล้ิง
2.ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะพัฒนาระบบในการยึด เหนี่ยวนักเรียนให้รับผิดชอบการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน
3.นอกเหนือจากการต้องมีทักษะในการวางแผนและการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้อง ครูจะต้องเผชิญกับนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนที่มักก่อกวนมากกว่าจะร่วมมือใน กิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย
4.ครูมราสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการเข้าไป สอดแทรกแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีกับนักเรียนที่สร้างปัญหาและต้องดำเนินการ ด้วยความยุติธรรมด้วย
5.ครูสามารถมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ด้วยวิธีการ 5 วิธี ดังนี้
5.1.ความสามารถในการควบคุมและให้รางวัลที่มีค่า
5.2.ความสามารถในการที่จะระงับการให้รางวัล
5.3.ความมีอำนาจโดยกฏหมาย ซึ่งเป็นทรพย์สมบัติที่มีมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่
5.4.ความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทาง
5.5.ความเป็นผู้มีเสน่ห์หรือเป็นสมาชิกของที่มีอิทธิพล
6.ครูสามารกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้ด้วยการยกย่องชมเชย การให้รางวัลและการลงโทษ
7.การช่วยให้ชั้นเรียนพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่มสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทำ ให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดเผย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียน
ตัวอย่างกลยุทธ์การจัดการในชั้นเรียน
เป็นกลยุทธ์ที่คิดในห้องเรียนของกติกากับนิธิ
โดยใช้กลยุทธ์ 3 ค.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น