วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้

ความหมายของการจัดการความรู้

        การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจายกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภทคือ
       1.ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลในการเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้
       2.ความรู้ที่ชัดเจน เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าความรู้แบบรูปธรรม
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
       1.การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
       2.การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
       3.การปรับปรุง ดัดแปลงหรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการใช้งานของตน
       4.การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการของตน
       5.การนำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัด "ขุมความรู้" ออกมาบันทึกไว้
       6.การจดบันทึก "ขุมความรู้" และ "แก่นความรู้" สำหรับไว้ใช้งานและปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
         การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเ้ป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์การดำเนินการตามที่กำหนดไว้และนิยามผลสัมฤทธิ์ออกเป็น 4 ส่วนคือ
         1.การตอบสนอง ซึ่งรวมทั้งการตอบสนองความต้องการของลูกค้า สนองความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองความต้องการของพนักงาน และสนองความต้องการของสังคมส่วนรวม
         2.การมีนวัตกรรม ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
         3.ขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนภาพการเรียนรู้ขององค์กร
         4.ประสิทธิภาพ หมายถึง สัดส่วนระหว่างผลลัพธ์กับต้นทุนที่ลงไป เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ชึ้นใช้เองตลอดเวลา คือเป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝงหรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของการทำงานและที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย


           องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมบูรณ์
            1.คน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์
            2.เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายขึ้นแบะรวดเร็ว
            3.กระบวนการความรู้ เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและนวัตกรรม



 แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้ 

แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้ามายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ 

แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทยมีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การทำการจัดการความรู้แบบเทียมและนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด กล่าวคือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ หรือทำเพื่อชื่อเสียง ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร หน่วยสื่อสารและสารสนเทศ หรือหน่วยพัฒนาองค์กร ต้องการใช้การจัดการความรู้ในการสร้างความเด่นหรือสร้างผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คนที่ชอบของเล่นใหม่ๆ ชอบกิจกรรมที่ดูทันสมัย แต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดำเนินการจัดการความรู้อย่างแท้จริง


ประเภทของความรู้

       ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

ความรู้แบบฝังลึก
       ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการ ผลิตหรือไม่

ความรู้ชัดแจ้ง
      ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร
ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย (Leaky Knowledge) ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน (Mutually Constituted) (Tsoukas, 1996) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึกเป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด (Grant, 1996) และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด
ตามรูปแบบของเซซี (SECI Model) (ของ Nonaka และ Takeuchi) ความรู้ทั้งแบบแฝงเร้นและแบบชัดแจ้งจะมีการแปรเปลี่ยนถ่ายทอดไปตามกลไกต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดความรู้ การผสานความรู้ และการซึมซับความรู้
การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล แต่ที่น่าสนใจ คือ การจัดการความรู้ ที่ทำให้คนเคารพศักดิ์ศรีของคนอื่น เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในคน เพราะหากถ้าเคารพความรู้ในตำราวิชาการอย่างเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการมองว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้


ระดับของความรู้

หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
  1. ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้ เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
  2. ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มา ประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
  3. ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่น ได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
  4. ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้

การถ่ายทอดความรู้
       
        การถ่ายทอดความรู้ อันเป็นส่วนประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ถูกประพฤติปฏิบัติกันมานานแล้ว ตัวอย่างรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ เช่น การอภิปรายของเพื่อนร่วมงานในระหว่างการปฏิบัติงาน, การอบรมพนักงานใหม่อย่างเป็นทางการ, ห้องสมุดขององค์กร, โปรแกรมการฝึกสอนทางอาชีพและการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดความรู้มีการพัฒนารูปแบบโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่กระจายอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 20 ก่อให้เกิดเทคโนโลยีฐานความรู้, ระบบผู้เชี่ยวชาญและคลังความรู้ ซึ่งทำให้กระบวนการถ่ายทอดความรู้ง่ายมากขึ้น

กระบวนการจัดการความรู้
        
        กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) เช่น พิจารณาว่าวิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร, ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร           

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) เช่น การสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว       
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต  
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ ให้มีความทันสมัย                           
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board, บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น                           
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)  ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ (Learning) ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จาก สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง               
     ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างและจัดการความรู้ทั้งที่มีอยู่เดิมภายในองค์กรและความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

 
กลยุทธ์ในการปฏิบัติการจัดการความรู้ 10 KM

1. KM - Know More ต้องรู้ให้มากขึ้น จากสิ่งเดิมความรู้เดิม
2. KM - Know Main การรู้หลัก เราจะต้องรู้หลักการเรื่องของความรู้ จะต้องเข้าใจแก่นสาร
3. KM - Know Media รู้เรื่องสื่อ หากเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสม หรือเข้าใจยาก ก็ย่อมสร้างปัญหา
ตามมา
4. KM - Know Mean รู้ความหมาย หากเรายังไม่เข้าใจความหมาย การจัดการก็ย่อมจะไร้ประโยชน์
5. KM - Know Mission รู้พันธกิจ เราจะต้องมีความชัดเจนเรื่องของพันธกิจว่าจะต้องใช้ความรู้
อะไรบ้าง
6. KM - Know Measure รู้วิธีการวัดการประเมิน การสร้างเครื่องวัดความรู้ หรือความไม่รู้
7. KM - Know Method วิธีการในการจัดการ ต้องเข้าใจวิธีการการจัดการความรู้ แล้วลงมือทำตามขั้นตอน 
 8. KM - Know Motivation รู้วิธีการเร้า การกระตุ้นให้คนในองค์กรได้ใช้ความรู้ในการทำงานให้
มากขึ้น
9. KM - Know Maintenance รู้วิธีการคงสภาพและการรักษาความรู้
10. KM - Know Mind รู้ตน เราจะต้องรู้จักตนเอง รู้วิธีการจัดการเรียนรู้ของตนเอง
                                                                                                                                                      

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับครู

 ความหมายของครู 

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติมีข้อความที่เกี่ยวกับลักษณะของ ครูที่ดีไว้ตอนหนึ่งว่า


"ครูที่แท้นั้น ต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ
ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร
ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน
ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิ
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ
ต้องเมตตาหวังดี
ต้องเมตตาหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจคติ
ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความรู้ในเหตุผล 

      พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๗ : ๙๒) กล่าวว่า คำว่า "ครู" เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ แล้วก็นำให้เกิดทางวิญญาณไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ 

      อำไพ สุจริตกุล (๒๕๓๔ : ๔๗-๔๘) กล่าวว่า คำว่า "ครู" "ปู่ครู" "ตุ๊ครู" และ "ครูบา" ในสมัยโบราณ หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่น หลังของสำนักต่อไป หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป 

จากตัวอย่างความหมายของครูข้างต้น จะเห็นว่า ครูต้องเป็นคนที่มีทั้งความรู้และความประพฤติที่ดี กอปรด้วยความเมตตากรุณาต่อศิษย์ คงไม่เกินความจริงที่จะกล่าวว่า ครูเป็นบุคคล "ไตรภาคี" คือ มาจากองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) ความรู้ดี ๒) ความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม (เมตตากรุณา) หากขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งจะไม่สามารถเป็นครูที่ดีได้


ยุทธศาสตร์สำหรับครู 

                1.ครูจะต้องยึดมาตรฐานหลักสูตร วิเคราะห์เนื้อหาให้สอดคล้องกับผู้เรียน เพื่อนำไปสู่คุณภาพการเรียนรู้ตามมาตรฐานหลักสูตรและสอดคล้องกับบริบททาง สังคม วัฒนธรรมของชุมชน สังคม และโลก

                2.ครูต้องมีความรู้ถูกต้อง ชัดเจน ลุ่มลึกในวิชาที่สอนเป็นพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
                3.การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริง ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้ เรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเอง  โดยครูเอื้ออาทร ให้คำปรึกษาใกล้ชิด ดำรงความมีจิตวิญญาณของความเป็นครูดี

                4.การวัดและประเมิน ต้องเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการวัดผลสัมฤทธิ์ การประเมินความงอกงามทุกด้าน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน มีวิธีการประเมินหลากหลาย มีแฟ้มคุณภาพผลงานที่กลั่นกรอง เลือกเฟ้น สะท้อนความเก่งรอบตัวของผู้เรียน
                5.การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด ครูผู้สอนต้องชาญฉลาดในการใช้สิ่งรอบตัว สถานการณ์จริง สื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ ห้องสมุดโรงเรียน หรืออินเทอร์เน็ต  รวมทั้งโลกใบนี้เป็นห้องเรียน

                6.การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด  จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสุข  อัน เกิดจากการเรียนรู้และมี

ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นการเดินทางไปสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ที่ครูและผู้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
ครูรัก เด็ก  เด็กก็รักครู

                7.การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด ต้องเน้น  คุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและผลงานของครู  ในการออกแบบการเรียนรู้ควบคู่กัน


 คุณลักษณะที่ดีของครู
 
      1.ความมีระเบียบวินัย ความประพฤติทั้งกาย วาจา และใจ
      2.ความซื่อสัตย์สุจริต การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
      3.ความขยัน ประหยัดและยึดมั่นในสัมมาอาชีพ ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและประพฤติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
      4.ความสำนึกในหน้าที่และการงาน ความประพฤติที่ไม่เอาเปรียบสังคม
      5.ความ เป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล ความประพฤติในลักษณะที่สร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การ งาน
      6.ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือไม่ไหว้วานหรือขอความช่วยเหลือจาก ผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
      7.ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ความมั่นคงและจิตใจให้สมบูรณ์มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะในจิตใจอย่างมั่นคง
      8.ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปันเกื้อกูลผู้อื่น
      9.ความ ภาคภูมิใจและรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และมรัพยากรของชาติ ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทยๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
      10.ความเสียสละและเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญและความสามัคคี



จรรยาบรรณในวิชาชีพครู

ความหมาย

      จรรยาบรรณในวิชาชีพหมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะ ต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อ ผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้

ความสำคัญ

      จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ” ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับ อุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณในวิชาชีพ” เพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดใน จรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม ดังนี้ 

จรรยาบรรณต่ออาชีพ

      ผู้ที่อยู่ในวงวิชาชีพจะต้องยึดถือจรรยาบรรณ ในการดำรงวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับ คือ

1. ศรัทธาต่อวิชาชีพ ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครู ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้อยู่ในวิชาชีพจะต้องมั่นใจ ในกาประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ

2. ธำรงและปกป้องวิชาชีพ สมาชิกของสังคมวิชาชีพต้องมีจิตสำนึกในการธำรง ปกป้อง และรักษาเกียรติภูมิของวิชา ไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน หรือเหยียบย่ำ ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ หรือ มัวหมองการธำรงปกป้องต้องกระทำทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือ ต้องมีการแก้ไขข่าวหรือประท้วงหากมีข่าวคราวอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อ วิชาชีพ

3. พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ หน้าที่ของสมาชิกในวงการวิชาชีพคือ การที่ต้องรับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย สร้างความรู้และเผยแพร่ความรู้ เพื่อทำให้วิทยาการในศาสตร์สาขาวิชาชีพครูก้าวหน้าทันสังคมทันเหตุการณ์ ก่อประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม ทำให้คนเก่ง และฉลาดขึ้น โดยวิธีการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักเรียน ใฝ่รู้ ช่างคิด ทีวิจารณญาณ มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ มากขึ้น

4. สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่งสมาชิกในวงวิชาชีพต้อง ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสร้างองค์กรวิชาชีพให้คงมั่นธำรงอยู่ได้ด้วยการเป็น สื่อกลางระหว่างสมาชิก และเป็นเวทีให้คนในวงการได้แสดง ฝีมือและความสามารถทางการสร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนตลอดจนการเผยแพร่ ผลงานทางด้านการสร้างแบบเรียนใหม่ ๆ การเสนอแนวความคิดห่าในเรื่องของการพัฒนาคน การเรียนการสอน และการประเมินผล

5. ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ สมาชิกในสังคมวิชาชีพต้องร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องของความคิด หรือการจัดประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากสมาชิกแล้ว ทำให้องค์กรวิชาชีพขาดความสำคัญลงและไม่สามารถดำเนินภารกิจขององค์กรวิชาชีพ ต่อไปได้บทบาทของการธำดงมาตรฐานและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการก็ย่อม จะลดลงด้วย ถ้าไม่มีปริมาณสมาชิกที่สนับสนุนเพียงพอ
 

จรรยาบรรณต่อผู้เรียน

      ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อผู้เรียน 9 ประการ คือ

1. ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ บทบาทของครูต้องพยายามที่จะทำให้ลูกศิษย์เรียนด้วยความสุข เรียนด้วยความเข้าใจ และเกิดความมานะพยายามที่จะรู้ในศาสตร์นั้น ครูจึงต้องตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะศึกษาวิชาการทั้งทางศาสตร์ที่จะสอน ศาสตร์ที่จะถ่ายทอดหรือวิธีการสอน ครูต้องพยายามที่จะหาวิธีการใหม่ ๆ มาลองทดลองสอน

2. รักและเข้าใจศิษย์ ครูต้องพยายามศึกษาธรรมชาติของวัยรุ่น ว่ามีปัญหามีความไวต่อความรู้สึก (sensitve) และอารมณ์ไม่มั่นคง ครูจึงควรให้อภัย เข้าใจ และหาวิธีการให้ศิษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ครูต้องพยายามทำ ให้ลูกศิษย์รักและไว้ใจเพื่อที่จะได้กล้าปรึกษาในสิ่งต่างๆแล้วครูก็จะ สามารถช่วยให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียน และการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง

3.ส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจุบันการส่งเสริมให้ผู้เรียนค้น คว้าหาคำตอบด้วยตนเองหรือการเรียนรู้จากการช่วยเหลือกันในกลุ่มอาจจะทำให้ ผู้เรียนมีวิธีการหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเองมากขึ้นมากกว่าจะคอยให้ครูบอกให้แต่ฝ่ายเดียว ครูจึงจำเป็นต้องชี้ช่องทางให้ผู้เรียนหาวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมาก ขึ้น

4. ยุติธรรม อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ไม่เห็นว่าคนที่มีปัญหาเป็นคนน่ารังเกียจ หรือพอใจแต่เฉพาะศิษย์ที่เรียนเก่ง ไม่สร้างปัญหาเท่านั้น ครูต้องมีความเป็นธรรมในการให้คะแนน และพร้อมที่จะอธิบายวิธีการให้คะแนน และการตัดเกรดได้ ครูต้องรอบคอบในการรอกคะแนน เพราะถ้าผิดพลาดแล้วบางครั้งก็จะทำให้ผู้เรียนที่ควรได้คะแนนดี ๆ กลับได้คะแนนเกือบจะสอบตกไป

5. ไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้เรียน ลักษณะของครูจะต้องเป็นผู้ไม่แสวงหาอามิสสินจ้าง เงินไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสุขเสมอไป ครูจึงจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการกระทำใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ครูกำลังหาประโยชน์จากศิษย์อย่างไม่เป็นธรรม

6. ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูมีอิทธิพลต่อศิษย์ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพ และความประพฤติ ครูจึงจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซึมซับสิ่งที่ทำจากตัวครูไป เมื่อศิษย์เกิดศรัทธาในความสามารถของครู ศิษย์อาจจะเลียนแบบความประพฤติของครูไปอย่างไม่ได้เจตนา เช่น การตรงต่อเวลา การพูดจาชัดเจน การแสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น

7.ให้เกียรติผู้เรียน การยกย่องให้เกียรติผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ และเกรงใจผู้สอน ครูไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด เช่น พูดจาข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพ เปลี่ยนชื่อผู้เรียน เยาะหยันหรือดูถูกผู้เรียน การเคารพผู้เรียนในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ดี เมื่อผู้เรียนได้รับการปฏิบัติอย่างดี ย่อมก่อให้เกิดพลังในการศึกษาต่อไป

8.อบรมบ่มนิสัย ม.ล. ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีบทบาท หน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก โดยท่านเชื่อว่า “การอบรมบ่มนิสัยใคร ๆนั้นเพียงแค่วันละนาทีก็ดีถม” ดังนั้นครูควรแบ่งเวลาในการอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน เช่น ก่อนการสอนแต่ละชั่วโมงอาจชี้แนะหรือให้ความคิดที่ดีแก่ผู้เรียนได้ ครูควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสอนคนให้เป็นคนดี

9.ช่วยเหลือศิษย์ผู้เรียนมาอยู่ในสถานศึกษาพร้อมด้วย ประสบการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้อง สังเกตความผิดปกติหรือข้อบกพร่องของศิษย์ และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ศิษย์ต้องก้าวถลำลึกลงไปในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

      นอกจากจรรยาบรรณต่อศิษย์แล้ว ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ด้วยคือ จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาเพื่อให้มีลักษณะพฤติกรรม ดังนี้

1.ประพฤติชอบ ครูต้องตั้งตนไว้ในที่ถูกที่ควรสามารถบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง

2.รับผิดชอบ ครูต้องฝึกความรับผิดชอบ โดยตั้งใจทำงานให้สำเร็จลุล่วง มีความผิดพลาดน้อย

3.มีเหตุผล ครูต้องฝึกถามคำถามตนเองบ่อย ๆ ฝึกความคิดวิเคราะห์หาเหตุหาผล หาข้อดีข้อเสียของตนเอง และเรื่องต่าง ๆ เพื่อทำให้ตนเองเป็นคนมีเหตุผลที่ดี

4.ใฝ่รู้ การติดตามข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอ ๆ ทำให้ครูมีนิสัยใฝ่รู้ อยากทราบคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ครูควรมีความรู้รอบตัวอย่างดีทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อให้ครูดำรงชีพในสังคมได้อย่างเป็นสุข ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และชี้แนะสิ่งที่ถูกต้องให้ศิษย์ได้

5.รอบคอบ ครูต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนรอบคอบ ละเอียดและประณีต ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ การทำกิจกรรม เช่น ควบคุมบัญชีการเงินต้องรอบคอบ ต้องเห็นตัวเลขชัดเจนไม่ตกหล่น ทำให้เกิดการผิดพลาดที่เป็นผลร้ายทั้งของตนเองและผู้อื่น

6.ฝึกจิต การพัฒนาจิต ทำให้ครูอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและส่งผลทำให้ครูทำงานได้อย่างมีประ สิทธิถาพมากขึ้นครูจึงต้องหมั่นฝึกจืตของตนให้สูงส่ง สูงกว่ามาตรฐาน ระงับอารมณ์ไม่ดี คิดอะไรได้สูงกว่ามาตรบานและคิดเป็นบวก มากกว่าคิดลบหรือคิดร้าย

7.สนใจศิษย์ การสนใจพัฒนาการของผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้า เพราะถ้าไม่มีผู้เรียนก็ไม่มีวิชาชีพครู ครูจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติผู้เรียน การแก้ปัญหาผู้เรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

สรุปได้ว่า จรรยาบรรณ คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพต่อผู้ เรียน และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์ .

กลยุทธ์การจัดการในชั้นเรียน

กลยุทธ์การจัดการในชั้นเรียน
 
     
การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วยความคิดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการเรียนรู้อย่าง เป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความ สำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการส อน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน


   องค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
          1.ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างประสิทธิภาพจะสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนและ มีขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจนและจัดกิจกรรมให้ประสาน สอดคล้ิง
          2.ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะพัฒนาระบบในการยึด เหนี่ยวนักเรียนให้รับผิดชอบการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน
          3.นอกเหนือจากการต้องมีทักษะในการวางแผนและการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้อง ครูจะต้องเผชิญกับนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนที่มักก่อกวนมากกว่าจะร่วมมือใน กิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย
          4.ครูมราสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการเข้าไป สอดแทรกแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีกับนักเรียนที่สร้างปัญหาและต้องดำเนินการ ด้วยความยุติธรรมด้วย
          5.ครูสามารถมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ด้วยวิธีการ 5 วิธี ดังนี้
                5.1.ความสามารถในการควบคุมและให้รางวัลที่มีค่า
                5.2.ความสามารถในการที่จะระงับการให้รางวัล
                5.3.ความมีอำนาจโดยกฏหมาย ซึ่งเป็นทรพย์สมบัติที่มีมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่
                5.4.ความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทาง
                5.5.ความเป็นผู้มีเสน่ห์หรือเป็นสมาชิกของที่มีอิทธิพล
          6.ครูสามารกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้ด้วยการยกย่องชมเชย การให้รางวัลและการลงโทษ
          7.การช่วยให้ชั้นเรียนพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่มสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทำ ให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดเผย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียน 



ตัวอย่างกลยุทธ์การจัดการในชั้นเรียน



เป็นกลยุทธ์ที่คิดในห้องเรียนของกติกากับนิธิ
โดยใช้กลยุทธ์ 3 ค.

กิจกรรมการสร้างอารณ์ขัน

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศษ 433 ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา 
    
     ศึกษานัยสำคัญของสังคมที่มีความรู้เป็นพื้นฐาน (Knowledge-Based Society) การเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติและการดำรงชีวิต การตัดสินใจ โดยอาศัยฐานความรู้และภูมิปัญญา การจัดระบบความรู้ การบริหารจัดการความรู้ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

จุดมุ่งหมายรายวิชา

     เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการความรู้ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติและการดำรงชีวิต

จุดประสงค์การเรียนรู้

     1. อธิบายแนวคิดและหลักการการจัดการความรู้ได้
     2. เชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติ และการดำรงชีวิตโดยอาศัยฐานความรู้และภมิปัญญา
     3. ตัดสินใจโดยอาศัยฐานความรู้และภูมิปัญญา
     4. จัดระบบความรู้ และการบริหารความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     5. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ในและนอกสถานศึกษา
     6. สามารถกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ได้

ขอบเขตเนื้อหา

     1. การกำหนดความรู้
     2. การสร้างและแสวงหาความรู้
     3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบเ ป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
     4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
     5. การเข้าถึงความรู้
     6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
     7. การเรียนรู้

แนะนำงานวิจัย

โมเดลการจัดการความรู้

โมเดลมาตรฐานวิชาชีพตรูของกลุ่มข้าพเจ้า

      
     เป็นโมเดลที่ทำในห้องเรียน เหตุที่ทำเป็นโมเดลขนมเค้ก เพราะขนมเค้กจะเรียงกันเป็นชั้นๆ เปรียบเหมือนมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูที่เรียงความสำคัญจากมากไปหาน้อย ที่อยู่ชั้นบนสุดของขนมเค้กคือ ความเป็นครู ก็จะมีความสำคัญมากที่สุด ส่วนที่มีความสำคัญน้อยที่สุดก็คือ การพัฒนาหลักสูตร ซึ่งนี้เป็นความคิดของข้าพเจ้า จึงได้ออกมาเป็นโมเดลในลักษณะนี้


โมเดลมาตรฐานวิชาชีพตรูของเพื่อนในห้อง


โมเดลกระบวนการจัดการความรู้


โมเดลกระบวนการจัดการความรู้ทำเป็นโมเดลปลาหมึก เพราะกระบวนการจัดการความรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 7 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนต่างก็มีความสำคัญที่ไม่สามารถตัดอันใดอันหนึ่งออกไปได้ ถ้าตัดออกไปก็จะไม่ครบสมบูรณ์ เปรียบเสมือนหนวดของปลาหมึกที่มีความสำคัญต่อตัวปลาหมึก ถ้าขาดหนวดไปเพียงหนวดเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อตัวของปลาหมึกเองได้ 

บันทึกการเรียน

วันที่ 7 กรฎาคม 2553

TPR= กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ

  *แม็คโคร                                                         *ไมโคร
  ภาวะผู้นำ                                                           แผนการสอน
  การบริหารจัดการ                                                 วิธีสอน/กิจกรรม
  การจัดองค์กร                                                      กิจกรรมเสริมหลักสูตร
  วิสัยทัศน์/พันธกิจ                                                 เกม
  แผนงาน สารสนเทศ                                             โครงงาน
  โครงการ                                                            นิทรรศการ
           ฯลฯ                                                              ฯลฯ

Theory= ทฤษฎี                                                   Research= วิจัย
AIM= เป้าหมาย
ADAP= ประยุกต์ ปรับปรุงพัฒนา
Acheap ment
จุดประสงค์การเรียนรู้
- เรียนรู้
- ริเริ่ม
- รับวัฒนธรรมการเรียนรู้และการตัดสินใจ
- เร่งรัด
- ร่วมมือ

วิธีสอน/กิจกรรม
- Active Learning
- Concept Mapping Learning
- Brain Based Learning
- Field Based Learning



วันที่ 14 กรกฎาคม 2553 


    รูปแบบของการเรียนรู้
ระดับที่ 1 การเรียนรู้ข้อเท็จจริง
ระดับที่ 2 การเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ
ระดับที่ 3 การเรียนรู้เพื่อการปรับปรุง
ระดับที่ 4 การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้

    มาตรฐานความรู้วิชาชีพครู

1. ภาษาและเทคโนโลยี
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผล
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
7. วิจัยทางการศึกษา
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยี
9. ความเป็นครู



วันที่ 21 กรกฎาคม 2553

กุญแจสู่ความสำเร็จของ KM


           ผู้นำ เช่น ในโรงเรียน= ผอ. เป็นผู้กำหนดนโยบาย
           ผู้นำ หมายถึง ผู้ริเริ่ม เริ่มต้นในการกำหนด ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ เช่น นักเรียน ครู 
           วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง คือ มีส่วนที่มองเห็นและมองไม่เห็น มองเห็น= กิจกรรม,องค์กร มองไม่เห็น= ความเชื่อ, ความศรัทธา 
           ระบบการจัดการ เช่น คอมพิวเตอร์, เอกสาร, ทรัพยากร ในระบบเพื่อจัดการ
           ประชามติ หมายถึง ความเห็นพ้อง, การยอมรับร่วมกัน

ปัจจัยในการจัดการกลยุทธ์และการปฏิบัติการ


1) money (เงิน)                                               8) message (การสื่อสาร)
2) men (บุคลากร)                                            9) map (แผนที่)
3) manage (การจัดการ)                                    10) memory (การจดจำ)
4) meterial (วัสดุอุปกรณ์)                                  11) move (การเปลี่ยนแปลง, เคลื่อนไหว)
5) motivation (แรงบันดาลใจ)                            12) moral (คุณธรรม, จริยธรรม)
6) method (แผนการ)                                       13) minute (เวลา, การบริหารเวลา)
7) multimedia


วันที่ 28 กรกฎาคม  2553


       การสร้างอารมณ์ขันของครู

กิจกรรม เช่น
- เพลง
- การเล่าเรื่อง
- เกม
- สำนวน, สุภาษิต
- ภาพยนตร์, ดนตรี
   ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้สามารถสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาของบทเรียนได้






แนะนำหนังสือ